แหล่งท่องเที่ยว

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ศิลปะวัฒนธรรม


เรือนอันเร
   
      เรือนอันเร แปลว่า รำสาก สมัยก่อนเรียกว่า ลูตอันเร เล่นกันในวันหยุดสงกรานต์ ซึ่งเรียกว่า “วันต็อม” อุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้คือ สาก ซึ่งชาวสุรินทร์เรียกว่า “อันเร” เป็นสากไม้แก่นกลม นิยมทำด้วยไม้มะค่าหรือไม้แดง ยาวประมาณ 5-6 ศอก ส่วนไม้หมอนยาวประมาณ 2-3 ศอก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-3 นิ้ว

เรือนอายัย
    
     เป็นการละเล่นพื้นเมืองของจังหวัดสุรินทร์ ที่รับแบบมาจากประเทศกัมพูชา แต่เรือมอายัยของจังหวัดสุรินทร์ เป็นการละเล่นโต้กลอนระหว่างหนุ่มสาว ซึ่งส่วนใหญ่เรื่องเกี้ยวพาราสีกัน ส่วนของกัมพูชาเป็นการถามตอบกัน

เจรียงซันตูจ
     
      เจรียง ซันตูจ แปลว่า ร้องตกเบ็ด เป็นการร้องเล่นในงานเทศกาลต่าง ๆ ส่วนใหญ่จัดในลานวัด หนุ่ม ๆ ที่มาร่วมงานจะรวมกันเป็นกลุ่ม และหาคันเบ็ดมา 1 อัน เหยื่อที่ใช้มักเป็นขนม ข้าวต้ม ผลไม้ ผูกเป็นพวง โดยไปหย่อนในกลุ่มที่มีหญิงสาว นั่งรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ หนุ่ม ๆ จะร้องรำเพลง แล้วหย่อนคันเบ็ด ลงตรงหน้าสาวที่ตนเองชอบ หากสาวรับเหยื่อแสดงว่าหลงรัก

กันตรึม
     
         กันตรึมหรือโจ๊ะกันตรึม เป็นดนตรีของกลุ่มวัฒนธรรมเขมร ทำนองเนื้อเพลง และเครื่องดนตรีเฉพาะ ภาษาที่ใช้ร้องคือภาษาเขมร ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ทำนองกันตรึมมีหลากหลาย ทั้งอ้อยอิ่ง และสนุกสนาน ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้ทั้งภาษาไทย ลาวในการ้องทำนองกันตรึม

กโนปติงตอง
     
         กโนปติงตอง เป็นการละเล่นที่เกิดขึ้นใหม่เมื่อ30 กว่าปีที่ผ่านมา โดยนายเหือนตรงศูนย์ดี ชาวบ้านโพธิ์กอง ตำบลไพล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นผู้คิดท่ารำ โดยเลือนแบบตั๊กแตนที่ไปพบเห็น จึงกลับมาคิดประดิษฐ์ท่ารำประเพณีวันสารท (วันโดนตา)


     เมื่อถึงวันสารทแรม 14 ค่ำ เดือน 10 ชาวสุรินทร์ถือเป็นวันสารทใหญ่ และมีความเชื่อว่าวิญญาณบรรพบุรุษจะกลับมาเยี่ยมลูกหลาน และจะทำการเซ่นไหว้วิญญาณของบรรพบุรา ที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยการจัดข้าวปลาอาหาร ทั้งคาวหวาน ไหว้เซ่น ชาวสุรินทร์เรียกว่า พิธีเซ่น หรือ แซนโดนตา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น