แหล่งท่องเที่ยว

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประชากร



จังหวัดสุรินทร์มีประชากรทั้งสิ้น 1,377,827 คน แยกเป็นชาย 689,305 คน หญิง 688,522 คน ความหนาแน่นเฉลี่ย 170 คน/ตร.กม. (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ) สรุปได้ว่าจังหวัดสุรินทร์มีจำนวนประชากรมากเป็นลำดับที่ 9 ของประเทศไทย และมีความหนาแน่นเฉลี่ยเป็นลำดับที่ 18 ของประเทศไทย
ชาวไทยเขมร

มีการตั้งถิ่นฐานอยู่ในท้องที่จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ รวมไปถึงนครราชสีมาบางพื้นที่ มีภาษาพูดและอักษรเป็นของตนเอง ภาษาเขมรป่าดงเหมือนภาษาเขมรในกัมพูชา แต่เสียงเพี้ยนกันอยู่บ้าง มีขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมเป็นของตนเอง เขมรป่าดงแต่เดิมนับถือพุทธศาสนานิกายมหายาน ผสมกับศาสนาพราหมณ์ และเทวนิยมดั้งเดิม

ชาวไทยกูย


ส่วย หรือกูยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ “ข่า” อีกกลุ่มหนึ่ง มีรูปร่างลักษณะคล้ายชนเผ่าเขมรมาก ภาษาก็ใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่ ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ อุบลธานี สุรินทร์ บุรีรัมย์บางส่วน ส่วยไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทราบเพียงว่า แต่เดิมอยู่ในกัมพูชา นิยมพูดภาษาเป็น 2 กลุ่ม คือ ลาวส่วย อยู่ในเขตจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี และเขมรส่วยบางส่วนในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ชาวไทยกูย หรือส่วยอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดที่อำเภอ ศรีขรภูมิ สำโรงทาบ จอมพระ สังขะ บัวเชด ศรีณรงค์ สนม ท่าตูม บางส่วนของอำเภอเมือง เขวาสินรินทร์ และกาบเชิง


ชาวไทยอีสาน

จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดที่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดสุรินทร์ จึงมีเชื้อสายไทยอีสานเหมือนกับหลายจังหวัดในภาคอีสาน โดยได้ใช้ภาษาและวัฒนธรรมที่เมือนกันกับชาวไทยอีสานโดยทั่วไป แต่ก็จะมีอยู่ที่แตกต่างในเรื่องของภาษาบ้างในแต่ละท้องถิ่น

ชาวไทยจีน


ชาวจีนส่วนใหญ่ที่อพยพเข้ามาก่อตัวเป็นชุมชนขึ้นในจังหวัดสุรินทร์นั้น สาเหตุหลักๆ มาจากปัญหาการลี้ภัยสงครามที่เกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนาน นับตั้งแต่ยุคการปฏิวัติประชาธิปไตยสมัย ดร.ซุนยัดเซ็น การปฏิวัติคอมมิวนิสต์นำโดยเหมา เจ๋อ ตง และสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นบุกจีน ที่ต่อเนื่องยาวนานถึง 54 ปี ในระหว่าง พ.ศ. 2438 – 2492 ทำให้ประชาชนเดือดร้อนลำเค็ญ โดยเฉพาะช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวจีนในจังหวัดแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง ได้อพยพลี้ภัยเข้ามายังเมืองไทยเป็นจำนวนมาก สายหนึ่งมาทางเรือ ขึ้นฝั่งที่เมืองบางกอก อีกสายหนึ่งผ่านเข้ามาทางเวียดนามและลาว ชุมชนชาวจีนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดสุรินทร์อาจแบ่งออกเป็นสองช่วงใหญ่ๆ ได้แก่ ก่อนการสร้างทางรถไฟผ่านเมืองสุรินทร์ และหลังจากทางรถไฟมาถึงจังหวัดสุรินทร์แล้ว

สิ่งแวดล้อม


จังหวัดสุรินทร์ มีการพัฒนาและขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีชุมชนเมือง ( ในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ ) ที่อยู่อย่างแออัด มียานพาหนะมากส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจร โดยเฉพาะบริเวณตลาดสดในเขตเทศบาล และบริเวณสถานศึกษา มีผลกระทบทางด้านมลภาวะบ้าง แต่ไม่รุนแรงนัก ปัญหาขยะและน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมมีค่อนข้างน้อย เพราะได้รับการเอาใจใส่ ดูแลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี โรงงานอตสาหกรรมส่วนใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์


วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทรัพยากร

ัฤพยากร
ทรัพยากร

1. ทรัพยากรป่าไม้

จังหวัดสุรินทร์ มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ คือ ป่าไม้ ซึ่งมีพื้นที่ป่าไม้ทั้งจังหวัดประมาณ 1,434,001 ไร่ ปัจจุบันมีพื้นที่ป่าสมบูรณ์เหลืออยู่ประมาณ 187,343 ไร่ จังหวัดสุรินทร์ มีพื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นเขตป่าจำนวน 1,382,625 ไร่หรือคิดเป็นร้อยละ 27.23 ของพื้นที่ โดยสามารถแยกได้ดังนี้ คือ
1.                 เขตป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 26 ป่า
2.                 วนอุทยาน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ วนอุทยานพนมสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ เนื้อที่ 2,500 ไร่ และวนอุทยานป่าสนหนองคู อำเภอสังขะ เนื้อที่ 625 ไร่
3.                 เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า 1 แห่ง คือ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยสำราญ-ห้วยทับทัน อยู่ในพื้นที่อำเภอพนมดงรัก อำเภอกาบเชิง อำเภอสังขะ และอำเภอบัวเชด เนื้อที่ 313,750 ไร่ (เอกสารบรรยายสรุปจังหวัดสุรินทร์ ประจำปี 2540) มีการตัดไม้ทำลายป่าค่อนข้างสูง โดยเฉพาะการบุกรุก แผ้วถาง เพื่อการเกษตรกรรม ป่าไม้ส่วนใหญ่อยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก ในเขตอำเภอสังขะ อำเภอบัวเชด อำเภอกาบเชิง และอำเภอพนมดงรัก และยังมีป่าไม้กระจัดกระจายเป็นหย่อม ๆ ในเขตอำเภอปราสาท อำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอท่าตูม อำเภอรัตนบุรี อำเภอลำดวน และอำเภอศีขรภูมิ ต้นไม้ที่มีอยู่โดยทั่วไปในจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ ต้นเต็ง รัง ยาง ประดู่ พะยูง ตาด แดง กะบาก และอื่น ๆ รวมทั้ง ต้นมันปลา หรือต้นกันเกรา ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์ จากการที่ป่าไม้ถูกทำลายมาก จึงมีการปลูกป่าทดแทน หรือปลูกไม้โตเร็วเพื่อการใช้สอย เช่น ต้นกระถินณรงค์ ต้นยางพารา ต้นตะกู และต้นยูคาลิปตัส เป็นต้น

2. ทรัพยากรสัตว์ป่า

จังหวัดสุรินทร์มีทรัพยากรสัตว์ป่าอยู่มากมายทั่วทั้งจังหวัด แต่ปัจจุบันนี้สัตว์ป่าจะมีอยู่เฉพาะตามพื้นที่ป่าที่อนุรักษ์ไว้และอาศัยอยู่ในเขตป่าสงวนและเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าเท่านั้น ส่วนสัตว์ป่าที่พบเห็นได้ในปัจจุบันที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ ได้แก่ เก้ง กวาง ลิ่น วัวแดง กระจง ลิง ค่าง ชะนี เสือโคร่ง เลียงผา อีเห็น แมวดาว ชะมด เม่น ไก่ฟ้าพญาลอ นกนานาชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมูป่า และกระจงมีอยู่จำนวนมากทั่วพื้นที่ สัตว์ที่มีลักษณะเด่นในพื้นที่ ได้แก่ ไก่ฟ้าพญาลอ เก้ง และที่พบเห็นในวนอุทยานพนมสวาย ได้แก่ กระรอก กระต่ายป่า สัตว์ปีกมีบ้างแต่ไม่มากนักได้แก่ นกกระเต็น บ่าง นกกระทาดง นกกวัก นกกระปูด นกกางเขนดง นกเขาหลวง นกเป็ดน้ำและนกเหยี่ยว และที่พบในวนอุทยานป่าสนหนองคู ได้แก่ กระรอก บ่าง กระต่ายป่า งู แย้ และนกเขา นกกะปูด นกเอี้ยง บางครั้งก็จะมีพบนกเงือกมาอยู่บ้าง และยังมีสัตว์ป่าอีกหลายชนิดที่สามารถพบเห็นได้ในป่าชุมชนต่างๆที่มีการอนุรักษ์ผืนป่าไว้

3. ทรัพยากรน้ำ

          จังหวัดสุรินทร์มีลำน้ำธรรมชาติที่สำคัญ 8 สาย คือ แม่น้ำมูล ลำน้ำชีน้อย ลำห้วยอารีย์ ลำห้วยพลับพลา ลำห้วยระวี ลำห้วยทับทัน ลำห้วยสำราญ และลำห้วยแก้ว เป็นลำน้ำที่ทำประโยชน์แก่จังหวัดนอกจากนั้นยังมีแหล่งน้ำอื่น ๆ ในเขตอำเภอต่าง ๆ รวมถึงแหล่งน้ำอื่นที่ไม่เอื้อประโยชน์มากนัก เนื่องจากในฤดูแล้งไม่มีน้ำอีกเป็นจำนวนมาก

4. ทรัพกรธรณี

 จังหวัดสุรินทร์มีทรัพยากรทางธรณีที่สำคัญ ได้แก่ ทรายแม่น้ำมูล พบที่อำเภอท่าตูม และอำเภอชุมพลบุรี บ่อหินลูกรัง พบที่ อำเภอท่าตูม อำเภอสำโรงทาบ อำเภอเมืองสุรินทร์ และอำเภอสังขะ หินภูเขา เป็นหินภูเขาที่ได้จากเขาสวาย ท้องที่ตำบลสวาย และตำบลนาบัว สำหรับป้อนโรงงานโม่หินเพื่อใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง
   

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สภาพภูมิอากาศ

          ที่ตั้ง จังหวัดสุรินทร์ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือระหว่างเส้นแวง ที่ 3 องศา และ 105 องศาตะวันออก และอยู่ในระหว่างเส้นรุ้งที่ 15 องศา และ 16 องศาเหนือ ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถไฟประมาณ 420 กิโลเมตร และโดยทางรถยนต์ประมาณ 450 กิโลเมตร และมีอาณาเขตดังนี้ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดมหาสารคามทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษทิศใต้ ติดต่อกับประเทศกัมพูชาทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์

 1.ลักษณะภูมิประเทศ
        จังหวัดสุรินทร์ มีเนื้อที่ประมาณ 8,124,056 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 5,077,535 ไร่ เท่ากับร้อยละ 4.8 ของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป มีลักษณะดังนี้ คือ บริเวณพื้นที่ติดต่อกับประเทศกัมพูชา มีป่าทึบและภูเขาสลับซับซ้อนมากมายหลายลูก ถัดจากบริเวณภูเขาจะเป็นที่ราบสูงลุ่มๆ ดอนๆ ลักษณะลูกคลื่นลอนลาด บริเวณตอนกลางของจังหวัดจะเป็นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่ มีที่ราบสูงอยู่บางตอน ด้านเหนือของจังหวัดเป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำมูลไหลผ่านจังหวัดสุรินทร์ มีลำน้ำธรรมชาติที่สำคัญ 8 สาย ดังนี้ คือ แม่น้ำมูล ลำน้ำชี ลำห้วยพลับพลา ห้วยเสนง ลำห้วยระวี ลำห้วยระหาร ห้วยสำราญ และลำห้วยแก้ว เป็นลำน้ำ ที่ทำประโยชน์ให้แก่จังหวัดสุรินทร์ นอกจากนี้แล้วยังมีลำน้ำและหนองน้ำอีกมากมายกระจัดกระจายอยู่ในอำเภอต่าง ๆ แต่แหล่งน้ำต่าง ๆ ดังกล่าวไม่อำนวยประโยชน์ให้แก่เกษตรกรได้มากนัก ในฤดูแล้งส่วนใหญ่น้ำจะแห้ง เว้นแต่ลำน้ำมูลซึ่งมีน้ำไหลตลอดปีจังหวัดสุรินทร์ มีป่าสงวนแห่งชาติ 29 ป่า เนื้อที่ 1,115,284 ไร่ มีป่าตามมติคณะรัฐมนตรี 15 ป่า เนื้อที่ 338,977 ไร่ มีวนอุทยาน 2 แห่ง ได้แก่ วนอุทยานพนมสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ เนื้อที่ 2,500 ไร่ และวนอุทยานป่าหนองคู อำเภอสังขะ เนื้อที่ 6,250 ไร่ มีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ ครอบคลุมบางตำบลของอำเภอบัวเชด อำเภอสังขะ อำเภอกาบเชิงและกิ่งอำเภอพนมดงรัก มีพื้นที่ประมาณ 313,750 ไร่ (ที่มา : สำนักงานป่าไม้จังหวัดสุรินทร์)

     2. พื้นที่เขตปกครองของจังหวัดสุรินทร์
                ประกอบด้วย 13 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอจอมพระ อำเภอท่าตูม อำเภอรัตนบุรี อำเภอชุมพลบุรี อำเภอสำโรงทาบ อำเภอสนม อำเภอศีขรภูมิ อำเภอสังขะ อำเภอลำดวน อำเภอปราสาท อำเภอกาบเชิง อำเภอบัวเชด และอีก 4 กิ่งอำเภอ ได้แก่ กิ่งอำเภอพนมดงรัก กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ กิ่งอำเภอโนนนารายณ์ และกิ่งอำเภอศรีณรงค์

คำขวัญ





สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท
 ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม




            สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่


          ผ้าไหมงาม


     
           ประคำสวย


    
         ร่ำรวยปราสาท  


     
            ผักกาดหวาน


                   ข้าวสารหอม
  



    






      งามพร้อมวัฒนธรรม