1. งานบุญประเพณีขึ้นพนมสวาย
จังหวัดสุรินทร์ดินแดนแห่งอารยธรรม หลากหลายวัฒนธรรม งานบุญประเพณี “เลิงพนม” หรือที่รู้จักกันทั่วไป "งานบุญประเพณีขึ้นเขาสวาย" เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานเป็นประจำทุกวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ (ปี ๒๕๕๑ ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๖ เมษายน)
นายพูนศักดิ์ ประณุทนรพาล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ นายธงชัย มุ่งเจริญพร นายกอบจ.สุรินทร์ ร่วมกับ นายสุรพล เศวตเศรนี รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และนายประยุทธ์ เขียวหวาน ฯลฯได้ร่วมกันจัดงานบุญประเพณีส่งเสริม “การท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา” ที่พนมสวาย ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวมาร่วม สวดมนต์ ภาวนา ทำศีลสมาธิ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนพนมสวาย เพื่อความเป็นสิริมงคลเสริมพลังชีวิต
ปี ๒๕๕๑ ถือเป็นปีเริ่มต้นที่สำคัญของชาวสุรินทร์ โดยนายพูนศักดิ์ ประณุทนรพาล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ได้เชิญชวนชาวสุรินทร์ร่วมกันบริจาคระฆังในนามของวัดต่างๆทั่วจังหวัดสุรินทร์มากถึง ๑,๐๗๐ วัดจัดสร้างระฆัง ๑,๐๗๐ ใบ และเพื่อเป็นศิริมงคลถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉลองปีมหามงคลเฉลิมพระชนม์ครบ ๘๐ พรรษา คณะผู้จัดสร้างระฆัง ได้กราบขอระฆังจากท่านเจ้าอาวาสวัดสำคัญๆ เช่น วัดบวรนิเวศวิหาร วัดพระเชตุพนฯ วัดระฆังโฆษิตาราม ฯลฯ จนได้ครบ ๑,๐๘๐ ใบ นำมาประดิษฐ์ฐานเรียงรายไว้ที่บันไดทางขึ้นเขาสวาย เพื่อเป็นหนึ่งในกิจกรรมของนักแสวงบุญที่แวะเวียนมา “พนมสวาย” อุทยานธรรมแห่งนี้
สำหรับปีนี้ ได้จัดงานเพิ่มขึ้นอีก ๑ วัน เพื่อเป็นการสมโภชใหญ่ นิมนต์พระเกจิอาจารย์จาก ๑,๐๗๐ วัด ทั่วจังหวัดสุรินทร์ มาสวดมนต์สมโภชระฆัง ในวันเสาร์ที่ ๕ เมษายนตั้งแต่เช้า รวมทั้งจัดพิธีปลุกเสกพระยอดธงที่จัดสร้างขึ้นเพื่อนำรายได้จากการเช่ามาใช้ในการบูรณะอุทยานพนมสวาย
เขตอุทยานพนมสวาย ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ ต.สวาย อ.เมือง จ.สุรินทร์ พนมสวาย เป็นภูเขาที่โผล่ขึ้นมาโดดๆบนที่ราบทำนาของจังหวัดสุรินทร์ ห่างจากเทือกเขาพนมดองเร็กประมาณ ๕๐ กิโลเมตร ห่างจากเขาพนมรุ้งประมาณ ๕๐ กิโลเมตร และอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๒๒ กิโลเมตร
คำ “พนมสวาย” เป็นภาษาท้องถิ่นเขมร "พนม" แปลว่า"ภูเขา" ส่วน "สวาย" แปลว่า "มะม่วง"
“พนมสวาย” เป็นภูเขาไม่สูงประกอบด้วยเขา ๓ ยอด ได้แก่
ยอดที่ ๑ "พนมกรอล" หรือเขาคอก เป็นที่ตั้งศาลาอัฏฐมุข ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองและเป็นที่ตั้งสถูปเจดีย์ บรรจุอัฐิหลวงปู่ดุล อตุโล และศาลเจ้าแม่กวนอิม ในอดีตบนภูเขานี้จะมีศิลาแลงวางเรียงกันเป็นชั้นๆ เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม สูงประมาณ ๑ เมตร ลักษณะคล้ายคอก จึงเรียกกันว่า "เขาคอก" ปัจจุบันร่องรอยของศิลาแลงดังกล่าวยังคงอยู่
ยอดที่ ๒ เรียกว่า"พนมเปร๊าะ" หมายถึงเขาผู้ชาย สูง ๒๑๐ เมตร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสุรินทรมงคลและปราสาทหินเขาพนมสวาย พร้อมบาราย ๓ ลูก(สระน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นตามแบบขอม มีศิลาแลงตัดเป็นก้อนๆรูปทรงสี่เหลี่ยมเรียงรายตั้งแต่ก้นสระถึงส่วนบนขอบสระเพื่อป้องกันดินพัง โดยทั่วไปตามสถาปัตยกรรมขอม จะมี ๔ บาราย ซึ่งเปรียบได้กับมหาสมุทรทั้ง๔ ) และเจดีย์ศิลาแลงโบราณ จำนวน ๑ องค์
ยอดที่ ๓ เรียกว่า "พนมสรัย" หมายถึงเขาผู้หญิงสูง ๒๒๘ เมตร เป็นที่ตั้งวัดพนมศิลาราม มีตำนานเรื่องเล่าในอดีตสืบทอดกันมาเชื่อว่ามีถ้ำมหาสมบัติ สระน้ำโบราณ และเป็นที่อยู่ของเต่าศักดิ์สิทธิ์ ๒ ตัว ซึ่งต่อมาอพยพหนีภัยลงจากเขา แต่ไปได้ถึงเพียงไหล่เขาก็ต้องกลายเป็นหิน เชื่อว่าหากใครลบหลู่หรือปีนป่ายบนเต่าหินศักดิ์สิทธิ์นี้จะเกิดภัยพิบัติแก่ตนเองและครอบครัว
”เลิงพนม” ประเพณีความเชื่อที่สืบทอดมาแต่บรรพบุรษของชาวเขมรสุรินทร์ พวกเขามีศรัทธาต่อประเพณีนี้อย่างแรงกล้า เมื่อถึงกำหนดทุกวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติของขอมคนเขมรสุรินทร์ ทุกคนจะหยุดงานทุกอย่างเป็นเวลา ๗ วัน เพื่อการแสวงบุญขึ้น“พนมสวาย” ไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง ครอบครัวและบ้านเมือง คนหนุ่มสาวก็จะมีโอกาสได้พบปะสนุกสนานรู้จักกัน หลายรายที่พัฒนาเป็นความรักถึงขั้นแต่งงานครองรักครองเรือนไป และยังเชื่อกันว่าหากใครไม่หยุดงาน จะถึงกับมีอันเป็นไป เช่นถูกฟ้าผ่าตายฯลฯ
เรื่องเล่าตำนาน
ตำนานเรื่องเล่า เกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนเขาสวายมีมากมาย เช่นตำนานเกี่ยวกับ “ก้อนหินใหญ่เคลื่อนที่ได้” ก้อนหินลอยน้ำได้ บ่อเงิน บ่อขมิ้น เดิมที่นี่จะมีขันน้ำ เงิน และขันทอง วางไว้สำหรับสำหรับผู้แวะเวียนผ่านมาได้ใช้ตักน้ำมาดื่มกิน ตามตำนานยังบอกเล่าถึงบ่อน้ำแห่งนี้ว่า ขณะที่ควานช้างนำช้างผ่านมาบนเขา ท่ามกลางฤดูกาลที่แห้งแล้งมาก หาน้ำดื่มกินไม่ได้ ช้างได้อาศัยววงของมันเสาะหาน้ำ เมื่อมาถึงที่แห่งหนึ่งบนเขา ช้างได้หยุดแล้วใช้เท้าเขี่ยก้อนหินนั้นออกไป ปรากฏว่าใต้แผ่นหินนั้นได้ว่ามีบ่อเล็กๆกว้างประมาณ ๖ นิ้ว มีความลึกสุดประมาณ ที่น่าแปลกแม้ในปัจจุบันบ่อน้ำแห่งนี้ก็ยังไม่พบว่าระดับน้ำได้ลดลงแต่อย่างไร ตำนานเกี่ยวกับ”พนมสวาย”ยังมีอีกมากมายwww.visitsurin.comจะติดตามนำมาเสนอต่อไป
เริ่มต้นจากศาลากลางจังหวัดประมาณ ๒๒ กม. ถนนลาดยางสายสุรินทร์-ปราสาท (ทางหลวงหมายเลข ๒๑๔) ระยะทาง ๑๔ กม. และมีทางแยกขวาเข้าไปอีก ๖ กม. อยู่ในท้องที่ ต.นาบัว อ.เมือง จังหวัดสุรินทร์
อีกเส้นทางหนึ่ง ออกจากตัวเมืองสุรินทร์ไปทางถนนเส้น สุรินทร์-บุรีรัมย์ ประมาณ ๕ กิโลเมตร(บ้านตะเคียน) เลี้ยวซ้าย ผ่านบ้านตะแสง ทะนง เข้าบ้านสวาย ตำบลสวาย ถึงเขาสวาย ระยะทางประมาณ ๒๕กิโลเมตร (มีป้ายบอกทางตลาดเส้นทาง-ถนนลาดยาง)
นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ โทรศัพท์ 0-4451-1975
ททท.สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต ๑ โทร.0-4421-3666, 0-4421-3030
ทุกวันในเวลาราชการ
3. ประเพณีบวชนาคช้าง ชาวกวย
นอกจากการแสดงของช้างที่ลือลั่นไปทั่วโลกแล้ว สุรินทร์ยังเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย เนื่องจากเป็นเมืองที่มีกลุ่มชาติพันธุ์อยู่รวมกันถึง ๓ กลุ่มด้วยกันคือ กวย (กูย) หรือส่วย เขมร และลาว ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีขนบประเพณีที่แตกต่างกันออกไป และก็เป็นที่น่าสนใจและน่าอนุรักษ์ไว้สำหรับอนุชนรุ่นหลัง
ประเพณีงานบวชประจำปีที่หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูมจังหวัดสุรินทร์ ก็เป็นอีกประเพณีหนึ่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้อย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่สำหรับจังหวัดสุรินทร์หรือประเทศไทยเท่านั้น แต่สมควรที่จะอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลกเลยก็ว่าได้ | |||||
ชาวกูยบ้านแห่งตากลางดำเนินวิถีชีวิตด้วยการเลี้ยงช้างตามรอยบรรพบุรุษมานานนับศตวรรษ และที่แห่งนี้ก็เป็นทำเลที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงช้างที่สุด กล่าวคือ อยู่บริเวณที่ราบลุ่มที่มีแม่น้ำมูลและแม่น้ำชีไหลมาบรรจบกัน กอปรกับยังมีสภาพป่าหลังเหลืออยู่บ้าง ซึ่งนับวันก็ถูกทำลายลงทุกที อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ต้องนำช้างออกไปเร่ร่อนตามเมืองใหญ่ๆ | |||||
| |||||
ช่วงวันขึ้น ๑๓-๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา ชาวหมู่บ้านตากลางและหมู่บ้านใกล้เคียงที่มีบุตรชายอายุครบบวช ต่างพร้อมใจกันกันจัดงานบวชขึ้น โดยแต่ละบ้านที่จัดงานบวชก็จะมีการบายศรีสู่ขวัญนาค และจัดงานเลี้ยงคล้ายๆ กับงานบวชโดยทั่วๆ ไป... |
งานช้างจังหวัดสุรินทร์
ประวัติ / ความเป็นมา
ในสมัยโบราณในแถบพื้นที่ของจังหวัดสุรินทร์ มีช้างอาศัยอยู่มากมาย ขณะเดียวกันจังหวัดสุรินทร์ก็มีชาว พื้นเมืองที่มีความชำนาญในการจับช้างป่ามาฝึกหัดทำงาน เรียกว่า พวก "ส่วย" ชาวส่วยเป็นชาวพื้นเมืองที่ กล่าวกันว่า เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่ได้อพยพมาจากเมืองอัตขันแสนแป ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ ใกล้กับเมืองจำปาศักดิ์ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบันชาวพื้นเมืองเหล่านี้เป็น เผ่าที่ชอบเลี้ยงช้าง เป็นผู้ริเริ่มในการจับช้างป่ามาฝึกเพื่อใช้งานและเป็นพาหนะเดินทางขนส่งในท้องถิ่น การไปจับช้างในป่าลึกโดยใช้ช้างต่อ เรียกว่า "โพนช้าง" ที่หมู่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ชาวส่วยได้เข้าไปอยู่บนเนิน เขตรอยต่อระหว่างดงสายทอและดงรูดินใกล้ๆ กับบริเวณที่ลำ น้ำชี้ (ชีน้อย) เป็นลำน้ำที่แบ่งเขตระหว่างจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดบุรีรัมย์และลำน้ำมูลไหลมาบรรจบกัน โดยสภาพพื้นที่ดังกล่าวในอดีตได้ตัดขาดจากโลกภายนอกเกือบสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้การผสมกลมกลืนกับ วัฒนธรรมอื่นจึงมีน้อย ชาวส่วยเกือบทั้งหมดในเขตพื้นที่นี้ ยังมีการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถี ชีวิตแบบดั้งเดิมของตนเองอยู่ โดยเฉพาะการเลี้ยงช้างเป็นอาชีพหลักที่สำคัญที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ในสมัยโบราณ ซึ่งไม่อาจสืบค้นได้ว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด โดยชาวส่วยเหล่านี้จะพากันออกไปจับช้างในเขต ประเทศกัมพูชามาฝึกให้สามารถใช้งานได้แล้วขายให้ กับพ่อค้าจากภาคเหนือของประเทศไทยเพื่อนำไป ลากไม้ในป่า จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.2502 ได้เกิดพิพาทระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา การเดินทางไปจับ ช้างจึงยุติลง และในที่สุดก็ได้ยุติลงอย่างสิ้นเชิงในราวปี พ.ศ.2506 ในขณะเดียวกันชาวบ้านบางส่วนได้ หันมาฝึกช้างจากการเป็นสัตว์ใช้งานมาเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านเช่นเดียวกับ แมวและสุนัข ฝึกสอนให้แสดง กิริยาต่างๆ เลียนแบบคน เพื่อจะ้นำไปแสดงในที่ต่างๆ แทนการขายไปทั้งตัวจนกระทั่งทางจังหวัดสุรินทร์ และองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ชื่อในขณะนั้น) ได้มองเห็นความสำคัญที่จะส่งเสริม การแสดงของช้างเป็นงานประจำปี ของจังหวัดสุรินทร์และประเทศไทยขึ้น โดยจัดเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา แต่ก่อนที่จะมีงานช้างซึ่งถือเป็นงานประจำปีของจังหวัดสุรินทร์ซึ่งได้จัดติดต่อกัน มาเกือบ 40 กว่าปีล่วงมาแล้ว นายท้าว ศาลางาม หมอช้างระดับครู ขาใหญ่แห่งหมู่บ้านกระเบื้องใหญ่ อำเภอ ชุมพลบุรี ได้เล่าถึงความเป็นมาของงานช้างว่า..
ปี พ.ศ.2498 นั้นมีข่าวลือว่าจะมีเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์มาลงที่หมู่บ้านตากลางหรือหมู่บ้านช้างในปัจจุบัน ด้วยเหตุที่ชาวบ้านนานๆ จะได้เห็นยวดยานพาหนะประเภทรถยนต์ และเครื่องบินผ่านไปในเขตพื้นที่อัน เป็นที่อยู่อาศัยของตน จึงแตกตื่นไปทั่วตำบล มีการชักชวนกันไปดูเครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์และเนื่องจาก ชาวบ้านในตำบลกระโพ เกือบทุกหมู่บ้านมีอาชีพสำคัญคือการเลี้ยงและออกจับช้างป่ามาฝึกขาย จึงมีช้าง เกือบทุกครัวเรือน โดยเป็นทั้งพาหนะและสินทรัพย์ที่สำคัญของชาวบ้านแถบนั้นการเดินทางไปดูเฮลิคอป เตอร์ในครั้งนั้นจึงใช้ช้างเป็นพาหนะ เมื่อไปถึงลานจอดเฮลิคอปเตอร์แล้วปรากฏว่ามีช้างจำนวนมากมาย รวมกันแล้วนับได้ประมาณ 300 เชือก สร้างความตื่นเต้นประทับใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็นเป็นอย่างมาก กระทั่ง ในปี พ.ศ.2503 นายวินัย สุวรรณกาศ นายอำเภอท่าตูม สมัยนั้นได้ให้นำช้างเหล่านี้มารวมตัวกันอีกครั้ง หนึ่งเพื่อร่วมแสดงในงานฉลองที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ ณ บริเวณสนามบินเก่าท่าตูม คือ บริเวณโรงเรียน ท่าตูมประชาเสริมวิทย์ในปัจจุบัน การแสดงนั้นได้จัดขึ้นในวันที่ 19 พ.ย. 2503 มีการเดินขบวนพาเหรด ของช้าง การแสดงการคล้องช้าง การแข่งขันช้างวิ่งเร็วมีช้างเข้าร่วมในการแสดงประมาณ 60 เชือก จาก การแสดงทำให้มีการประชาสัมพันธ์แพร่ภาพทั้งทางโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วทำให้เกิด ความสนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
ในสมัยโบราณในแถบพื้นที่ของจังหวัดสุรินทร์ มีช้างอาศัยอยู่มากมาย ขณะเดียวกันจังหวัดสุรินทร์ก็มีชาว พื้นเมืองที่มีความชำนาญในการจับช้างป่ามาฝึกหัดทำงาน เรียกว่า พวก "ส่วย" ชาวส่วยเป็นชาวพื้นเมืองที่ กล่าวกันว่า เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่ได้อพยพมาจากเมืองอัตขันแสนแป ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ ใกล้กับเมืองจำปาศักดิ์ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบันชาวพื้นเมืองเหล่านี้เป็น เผ่าที่ชอบเลี้ยงช้าง เป็นผู้ริเริ่มในการจับช้างป่ามาฝึกเพื่อใช้งานและเป็นพาหนะเดินทางขนส่งในท้องถิ่น การไปจับช้างในป่าลึกโดยใช้ช้างต่อ เรียกว่า "โพนช้าง" ที่หมู่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ชาวส่วยได้เข้าไปอยู่บนเนิน เขตรอยต่อระหว่างดงสายทอและดงรูดินใกล้ๆ กับบริเวณที่ลำ น้ำชี้ (ชีน้อย) เป็นลำน้ำที่แบ่งเขตระหว่างจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดบุรีรัมย์และลำน้ำมูลไหลมาบรรจบกัน โดยสภาพพื้นที่ดังกล่าวในอดีตได้ตัดขาดจากโลกภายนอกเกือบสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้การผสมกลมกลืนกับ วัฒนธรรมอื่นจึงมีน้อย ชาวส่วยเกือบทั้งหมดในเขตพื้นที่นี้ ยังมีการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถี ชีวิตแบบดั้งเดิมของตนเองอยู่ โดยเฉพาะการเลี้ยงช้างเป็นอาชีพหลักที่สำคัญที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ในสมัยโบราณ ซึ่งไม่อาจสืบค้นได้ว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด โดยชาวส่วยเหล่านี้จะพากันออกไปจับช้างในเขต ประเทศกัมพูชามาฝึกให้สามารถใช้งานได้แล้วขายให้ กับพ่อค้าจากภาคเหนือของประเทศไทยเพื่อนำไป ลากไม้ในป่า จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.2502 ได้เกิดพิพาทระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา การเดินทางไปจับ ช้างจึงยุติลง และในที่สุดก็ได้ยุติลงอย่างสิ้นเชิงในราวปี พ.ศ.2506 ในขณะเดียวกันชาวบ้านบางส่วนได้ หันมาฝึกช้างจากการเป็นสัตว์ใช้งานมาเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านเช่นเดียวกับ แมวและสุนัข ฝึกสอนให้แสดง กิริยาต่างๆ เลียนแบบคน เพื่อจะ้นำไปแสดงในที่ต่างๆ แทนการขายไปทั้งตัวจนกระทั่งทางจังหวัดสุรินทร์ และองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ชื่อในขณะนั้น) ได้มองเห็นความสำคัญที่จะส่งเสริม การแสดงของช้างเป็นงานประจำปี ของจังหวัดสุรินทร์และประเทศไทยขึ้น โดยจัดเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา แต่ก่อนที่จะมีงานช้างซึ่งถือเป็นงานประจำปีของจังหวัดสุรินทร์ซึ่งได้จัดติดต่อกัน มาเกือบ 40 กว่าปีล่วงมาแล้ว นายท้าว ศาลางาม หมอช้างระดับครู ขาใหญ่แห่งหมู่บ้านกระเบื้องใหญ่ อำเภอ ชุมพลบุรี ได้เล่าถึงความเป็นมาของงานช้างว่า..
ปี พ.ศ.2498 นั้นมีข่าวลือว่าจะมีเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์มาลงที่หมู่บ้านตากลางหรือหมู่บ้านช้างในปัจจุบัน ด้วยเหตุที่ชาวบ้านนานๆ จะได้เห็นยวดยานพาหนะประเภทรถยนต์ และเครื่องบินผ่านไปในเขตพื้นที่อัน เป็นที่อยู่อาศัยของตน จึงแตกตื่นไปทั่วตำบล มีการชักชวนกันไปดูเครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์และเนื่องจาก ชาวบ้านในตำบลกระโพ เกือบทุกหมู่บ้านมีอาชีพสำคัญคือการเลี้ยงและออกจับช้างป่ามาฝึกขาย จึงมีช้าง เกือบทุกครัวเรือน โดยเป็นทั้งพาหนะและสินทรัพย์ที่สำคัญของชาวบ้านแถบนั้นการเดินทางไปดูเฮลิคอป เตอร์ในครั้งนั้นจึงใช้ช้างเป็นพาหนะ เมื่อไปถึงลานจอดเฮลิคอปเตอร์แล้วปรากฏว่ามีช้างจำนวนมากมาย รวมกันแล้วนับได้ประมาณ 300 เชือก สร้างความตื่นเต้นประทับใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็นเป็นอย่างมาก กระทั่ง ในปี พ.ศ.2503 นายวินัย สุวรรณกาศ นายอำเภอท่าตูม สมัยนั้นได้ให้นำช้างเหล่านี้มารวมตัวกันอีกครั้ง หนึ่งเพื่อร่วมแสดงในงานฉลองที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ ณ บริเวณสนามบินเก่าท่าตูม คือ บริเวณโรงเรียน ท่าตูมประชาเสริมวิทย์ในปัจจุบัน การแสดงนั้นได้จัดขึ้นในวันที่ 19 พ.ย. 2503 มีการเดินขบวนพาเหรด ของช้าง การแสดงการคล้องช้าง การแข่งขันช้างวิ่งเร็วมีช้างเข้าร่วมในการแสดงประมาณ 60 เชือก จาก การแสดงทำให้มีการประชาสัมพันธ์แพร่ภาพทั้งทางโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วทำให้เกิด ความสนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
ทางองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ชื่อเดิมของ ททท.) จึงเสนอต่อกระทรวงมหาดไทย ว่าการแสดงของช้างที่จังหวัดสุรินทร์ในครั้งนั้นนับว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่มากของจังหวัดและประชาชนทั่วไป ก็ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก แต่มีโอกาสหาชมได้น้อย จึงเห็นสมควรที่จะเผยแพร่งานแสดงของช้างไป สู่วงกว้าง โดยเสนอให้งานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของงานประเพณีของจังหวัดและให้มีการจัดขึ้นเป็นประจำ ทุกปี โดยการกำหนดวันให้แน่นอนตามปฏิทินทางสุริยคติและจัดรูปแบบงานให้มีความรัดกุมมากขึ้นเพื่อ จะได้มีเวลาในการโฆษณาเชิญชวนไปยังต่างประเทศ อันเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวของ ประเทศให้แพร่หลายไปด้วย
ดังนั้น วันที่ 18 พ.ย. 2504 จังหวัดสุรินทร์จึงได้ร่วมกับองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัด งานแสดงของช้างขึ้นเป็นงานประจำปีของจังหวัดสุรินทร์อีกครั้งหนึ่งโดยยังคงจัดที่อำเภอท่าตูม ซึ่งอยู่ห่าง จากจังหวัดสุรินทร์ไปทางทิศเหนือ ประมาณ 52 กิโลเมตร จากผลการจัดงานแสดงของช้างดังกล่าวได้รับ ความสนใจจากชาวต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ทางองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจึงได้ รายงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ให้พิจารณางานเสดงของช้างเป็นงานประจำปีของชาติ และคณะรัฐมนตรี ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2505 เป็นต้นมา งานแสดงของช้างจังหวัดสุรินทร์กลายเป็นงาน ประจำปีของชาติ และเป็นงานประเพณีที่มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาจังหวัดสุรินทร์จนกระทั่งปัจจุบัน
กำหนดงาน
กำหนดให้มีขึ้นในวันเสาร์ – อาทิตย์ สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี สามารถตรวจสอบราย ละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival
กิจกรรม / พิธี
การแสดงของช้างมีด้วยกันทั้งหมด 8 ฉาก อาทิเช่น ชุดโขลงช้าง พิธีเซ่นผีปะกำ การโพนช้าง และการฝึก ช้างป่า ช้างทำงาน และการเล่นของช้าง ประเพณีวัฒนธรรมของส่วยหรือชนชาวกุย ขบวนช้างแห่นาค ช้าง แข่งขันกีฬา ช้างเตะตะกร้อ ช้างชกมวย การประกวดช้างสวยงามและการแสดงของช้างอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากการแสดงของช้างแล้วยังมีการจัดนิทรรศการ การประกวดผลผลิตทางการเกษตร การประกวด ของดีเมืองสุรินทร์ การออกสลากกาชาด การออกร้านงานช้างแฟร์ ทำให้ผู้ร่วมงานครั้งนี้สนุกสนานกัน ถ้วนหน้า
การแสดงของช้างเริ่มด้วยฉากแรกชื่อว่า "จ่าโขลง" แสดงให้เห็นถึงชีวิตของช้างป่าตามธรรมชาติซึ่งอยู่ รวมกัน การแสดงครั้งนี้ก็จะปล่อยช้างออกมาบริเวณสนามแสดงช้างหลายสิบเชือก โดยไม่มีควาญช้าง บังคับ เพื่อให้สมจริงสมจังกับการเป็นช้างป่า เมื่อมีช้างป่าชาวบ้านก็มีความต้องการที่จะจับช้างมาเลี้ยงไว้ ใช้งาน แต่การจับช้างของชาวบ้านไม่ใช่อยู่ๆ ก็จับมาเลย ต้องมีการทำพิธีกันเสียก่อน ฉากต่อมาจึงมีชื่อ ชุดว่า "กวย" ฉากนี้แสดงให้เห็นว่าชาวบ้านต้องทำพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ผีปะกำ ก่อนออกไปคล้องช้างตาม ความเชื่อที่ว่า ช้างแต่ละเชือกมีผีปะกำดูแลอยู่ ดังนั้นหน้าบ้านของคนเลี้ยงช้างทุกบ้านจะมีศาลปะกำเพื่อ ไว้เป็นที่เก็บเชือกกำปะกำและเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเซ่นไหว้ โดยแสดงให้เห็นถึง การประกอบพิธีอย่างโบราณ ด้วยการให้หมอเฒ่า หรือปะกำหลวงมาแสดงให้ผู้ชมมีความรู้สึกร่วมไปด้วย แต่น่าเสียดายที่ผู้ชมกับผู้แสดงอยู่ห่างกันมาก ทำให้ไม่เห็นรายละเอียดบางอย่างอย่างใกล้ชิด เช่น การ สวด สีหน้า ท่าทางของผู้ประกอบพิธี
เมื่อเสร็จพิธี ชาวบ้านก็จะไปคล้องช้างกันการเข้าไปคล้องช้างในป่าจะกินเวลานานถึง 2-3 เดือน ฉะนั้นผู้ที่ คล้องช้างจึงต้องเป็นผู้ชายและผู้ที่คล้องช้างได้ก็จะเป็นที่ยอมรับนับถือในความเป็นชายเป็นเกียรติแก่วงศ์ ตระกูล เป็นที่หมายปองแก่บรรดาสาวๆ และที่สำคัญช้างเชือกหนึ่งมีราคาไม่ใช่น้อย ดังนั้น การคล้องช้า้ง ถือเป็นการยกฐานะของคนที่คล้องช้างได้ไปในตัวด้วยฉากต่อมาชื่อชุดว่า "จากป่าสู่บ้าน" เป็นการแสดง ให้เห็นถึงวิธีการคล้องช้าง ผู้ชำนาญจะคล้องช้างที่เป็นแม่ลูกอ่อน เพราะถ้าหากคล้องลูกช้างได้ก็เหมือน กับได้ตัวแม่ด้วย ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าแม่ช้างจะห่วงลูกน้อยทำให้ไม่ยอมไปไหน การแสดงฉากนี้คนก็ลุ้น อยากให้คนคล้องช้างได้หลายคนก็ลุ้นให้ช้างหลุดรอดไปได้ ซึ่งคนดูจะตื่นเต้นสนุกสนาน การแสดงฉาก นี้ดูเหมือนว่าจะคล้องช้างไม่ได้เสียมากกว่า เพราะช้างที่แสดงเป็นช้างบ้านที่ฉลาด ได้รับการฝึกฝนมาแล้ว จึงรู้วิธีหลบหลีกเป็นอย่างดี คนที่ลุ้นให้ช้างรอดก็โล่งใจกันเป็นแถว " สร้างบ้าน แปงเมือง " เป็นการแสดง ในฉากต่อมาโดยนำช้างออกมาแสดงความสามารถทั้งการใช้งาน เช่น การลากซุง การแสดงตามคำสั่ง ต่างๆ ซึ่งก็น่ารัก น่าเอ็นดู เพราะช้างตัวใหญ่อุ้ยอ้ายการที่จะต้องมาแสดงท่าทางเลียนแบบคน ไม่ใช่เรื่อง ง่ายเลย ไม่ว่าจะเป็นลูกช้างไต่ราว การให้ช้างนั่งบนถังในท่านั่งเหมือนคนหรือเดินสองขาเหมือนคน
ในขณะที่การแสดงของช้างดำเนินอยู่ ก็จะมีเด็กๆ ทั้งผู้หญิงผู้ชายแต่งกายชุดพื้นบ้านมาแสดงการละเล่น ของเด็กในสมัยก่อนที่มักจะหาของเล่นจากวัสดุ ในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเดินกะลา ล้อไม้ ม้าก้านกล้วย เดินโทงเทง ซึ่งหาดูได้ยากในปัจจุบัน แต่ที่น่าชมและชอบใจของคนดูทั้งสนามก็คงเป็นช้างชกมวย ไม่ใช่ ช้างชกกับช้าง แต่เป็นช้างกับคน โดยเขาจะใส่นวมที่งวงช้างเพื่อให้ชกแทนการใช้มืออย่างคน การชกเป็น ไปอย่างดุเดือดเพราะแต่ละหมัด(งวง) ของช้างหนักหน่วงจนทำให้คนต้องลงไปนอนให้กรรมการนับหลาย ครั้งและก็ปรากฏว่าช้างชนะน็อคไปตามระเบียบ ดัวยหมัดฮุคอย่างรุนแรง เป็นที่สนุกสนานเฮฮาของคนดู
หลังจากการแสดงอันแสนรู้ของช้างผ่านไปแล้ว ก็เป็นการแสดงคนในชื่อชุดว่า "ประเพณี" เป็นการแสดง ให้เห็นถึงวัฒนธรรมประเพณีของชาวสุรินทร์ คือ การแสดงเรืออันเร และการแห่บั้งไฟ
ดังนั้น วันที่ 18 พ.ย. 2504 จังหวัดสุรินทร์จึงได้ร่วมกับองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัด งานแสดงของช้างขึ้นเป็นงานประจำปีของจังหวัดสุรินทร์อีกครั้งหนึ่งโดยยังคงจัดที่อำเภอท่าตูม ซึ่งอยู่ห่าง จากจังหวัดสุรินทร์ไปทางทิศเหนือ ประมาณ 52 กิโลเมตร จากผลการจัดงานแสดงของช้างดังกล่าวได้รับ ความสนใจจากชาวต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ทางองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจึงได้ รายงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ให้พิจารณางานเสดงของช้างเป็นงานประจำปีของชาติ และคณะรัฐมนตรี ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2505 เป็นต้นมา งานแสดงของช้างจังหวัดสุรินทร์กลายเป็นงาน ประจำปีของชาติ และเป็นงานประเพณีที่มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาจังหวัดสุรินทร์จนกระทั่งปัจจุบัน
กำหนดงาน
กำหนดให้มีขึ้นในวันเสาร์ – อาทิตย์ สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี สามารถตรวจสอบราย ละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival
กิจกรรม / พิธี
การแสดงของช้างมีด้วยกันทั้งหมด 8 ฉาก อาทิเช่น ชุดโขลงช้าง พิธีเซ่นผีปะกำ การโพนช้าง และการฝึก ช้างป่า ช้างทำงาน และการเล่นของช้าง ประเพณีวัฒนธรรมของส่วยหรือชนชาวกุย ขบวนช้างแห่นาค ช้าง แข่งขันกีฬา ช้างเตะตะกร้อ ช้างชกมวย การประกวดช้างสวยงามและการแสดงของช้างอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากการแสดงของช้างแล้วยังมีการจัดนิทรรศการ การประกวดผลผลิตทางการเกษตร การประกวด ของดีเมืองสุรินทร์ การออกสลากกาชาด การออกร้านงานช้างแฟร์ ทำให้ผู้ร่วมงานครั้งนี้สนุกสนานกัน ถ้วนหน้า
การแสดงของช้างเริ่มด้วยฉากแรกชื่อว่า "จ่าโขลง" แสดงให้เห็นถึงชีวิตของช้างป่าตามธรรมชาติซึ่งอยู่ รวมกัน การแสดงครั้งนี้ก็จะปล่อยช้างออกมาบริเวณสนามแสดงช้างหลายสิบเชือก โดยไม่มีควาญช้าง บังคับ เพื่อให้สมจริงสมจังกับการเป็นช้างป่า เมื่อมีช้างป่าชาวบ้านก็มีความต้องการที่จะจับช้างมาเลี้ยงไว้ ใช้งาน แต่การจับช้างของชาวบ้านไม่ใช่อยู่ๆ ก็จับมาเลย ต้องมีการทำพิธีกันเสียก่อน ฉากต่อมาจึงมีชื่อ ชุดว่า "กวย" ฉากนี้แสดงให้เห็นว่าชาวบ้านต้องทำพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ผีปะกำ ก่อนออกไปคล้องช้างตาม ความเชื่อที่ว่า ช้างแต่ละเชือกมีผีปะกำดูแลอยู่ ดังนั้นหน้าบ้านของคนเลี้ยงช้างทุกบ้านจะมีศาลปะกำเพื่อ ไว้เป็นที่เก็บเชือกกำปะกำและเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเซ่นไหว้ โดยแสดงให้เห็นถึง การประกอบพิธีอย่างโบราณ ด้วยการให้หมอเฒ่า หรือปะกำหลวงมาแสดงให้ผู้ชมมีความรู้สึกร่วมไปด้วย แต่น่าเสียดายที่ผู้ชมกับผู้แสดงอยู่ห่างกันมาก ทำให้ไม่เห็นรายละเอียดบางอย่างอย่างใกล้ชิด เช่น การ สวด สีหน้า ท่าทางของผู้ประกอบพิธี
เมื่อเสร็จพิธี ชาวบ้านก็จะไปคล้องช้างกันการเข้าไปคล้องช้างในป่าจะกินเวลานานถึง 2-3 เดือน ฉะนั้นผู้ที่ คล้องช้างจึงต้องเป็นผู้ชายและผู้ที่คล้องช้างได้ก็จะเป็นที่ยอมรับนับถือในความเป็นชายเป็นเกียรติแก่วงศ์ ตระกูล เป็นที่หมายปองแก่บรรดาสาวๆ และที่สำคัญช้างเชือกหนึ่งมีราคาไม่ใช่น้อย ดังนั้น การคล้องช้า้ง ถือเป็นการยกฐานะของคนที่คล้องช้างได้ไปในตัวด้วยฉากต่อมาชื่อชุดว่า "จากป่าสู่บ้าน" เป็นการแสดง ให้เห็นถึงวิธีการคล้องช้าง ผู้ชำนาญจะคล้องช้างที่เป็นแม่ลูกอ่อน เพราะถ้าหากคล้องลูกช้างได้ก็เหมือน กับได้ตัวแม่ด้วย ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าแม่ช้างจะห่วงลูกน้อยทำให้ไม่ยอมไปไหน การแสดงฉากนี้คนก็ลุ้น อยากให้คนคล้องช้างได้หลายคนก็ลุ้นให้ช้างหลุดรอดไปได้ ซึ่งคนดูจะตื่นเต้นสนุกสนาน การแสดงฉาก นี้ดูเหมือนว่าจะคล้องช้างไม่ได้เสียมากกว่า เพราะช้างที่แสดงเป็นช้างบ้านที่ฉลาด ได้รับการฝึกฝนมาแล้ว จึงรู้วิธีหลบหลีกเป็นอย่างดี คนที่ลุ้นให้ช้างรอดก็โล่งใจกันเป็นแถว " สร้างบ้าน แปงเมือง " เป็นการแสดง ในฉากต่อมาโดยนำช้างออกมาแสดงความสามารถทั้งการใช้งาน เช่น การลากซุง การแสดงตามคำสั่ง ต่างๆ ซึ่งก็น่ารัก น่าเอ็นดู เพราะช้างตัวใหญ่อุ้ยอ้ายการที่จะต้องมาแสดงท่าทางเลียนแบบคน ไม่ใช่เรื่อง ง่ายเลย ไม่ว่าจะเป็นลูกช้างไต่ราว การให้ช้างนั่งบนถังในท่านั่งเหมือนคนหรือเดินสองขาเหมือนคน
ในขณะที่การแสดงของช้างดำเนินอยู่ ก็จะมีเด็กๆ ทั้งผู้หญิงผู้ชายแต่งกายชุดพื้นบ้านมาแสดงการละเล่น ของเด็กในสมัยก่อนที่มักจะหาของเล่นจากวัสดุ ในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเดินกะลา ล้อไม้ ม้าก้านกล้วย เดินโทงเทง ซึ่งหาดูได้ยากในปัจจุบัน แต่ที่น่าชมและชอบใจของคนดูทั้งสนามก็คงเป็นช้างชกมวย ไม่ใช่ ช้างชกกับช้าง แต่เป็นช้างกับคน โดยเขาจะใส่นวมที่งวงช้างเพื่อให้ชกแทนการใช้มืออย่างคน การชกเป็น ไปอย่างดุเดือดเพราะแต่ละหมัด(งวง) ของช้างหนักหน่วงจนทำให้คนต้องลงไปนอนให้กรรมการนับหลาย ครั้งและก็ปรากฏว่าช้างชนะน็อคไปตามระเบียบ ดัวยหมัดฮุคอย่างรุนแรง เป็นที่สนุกสนานเฮฮาของคนดู
หลังจากการแสดงอันแสนรู้ของช้างผ่านไปแล้ว ก็เป็นการแสดงคนในชื่อชุดว่า "ประเพณี" เป็นการแสดง ให้เห็นถึงวัฒนธรรมประเพณีของชาวสุรินทร์ คือ การแสดงเรืออันเร และการแห่บั้งไฟ
การแสดงเรืออันเร ประกอบด้วยดนตรีพื้นบ้าน คือ กันตรึม การรำคล้ายกับการรำลาวกระทบไม้
การแห่บั้งไฟ เป็นประเพณีของชาวอีสานที่แห่บูชาพญาแถนเพื่อขอฝน ขบวนแห่ในวันนั้นมีการจัดไว้อย่าง สวยงาม มีผู้ร่วมขบวนนับร้อย ทุกคนล้วนแต่งกายสีสันสดใสด้วยผ้าพื้นเมือง ฝีมือการทอของชาวบ้านเอง
การบวชนาค เป็นอีกฉากหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของช้าง เพราะคหบดีในสมัยก่อนนิยมใช้ช้าง ร่วมแห่นำในขบวนแห่นาค และการแห่นาคที่จังหวัดสุรินทร์จะต่างจากที่อื่นตรงที่นิยมให้มีการรำมวยไทย นำหน้าขบวนแห่นาค และมีวงมโหรีอยู่บนหลังช้าง ปิดขบวนด้วยระนาด ฆ้อง ปี่ และตะโพน เมื่อบวชนาค แล้วต้องมีการฉลองพระใหม่ ก็ได้มีการแสดงชื่อชุดว่า " ฉลองพระ " ซึ่งสมัยก่อนการฉลองพระเป็นการ แข่งขันและเล่นเกมของคน แต่ต่อมาใช้ช้างเล่นแทน ซึ่งก็ให้ความสนุกสนานไม่แพ้คนเล่นเองการแข่งขัน ของช้างมีหลายเกม คือ ช้างวิ่งแข่ง ช้างเตะฟุตบอล ช้างเก็บของ สิ่งเหล่านี้จะแสดงให้เห็นว่า ช้างเชือก ไหนฉลาดและเชื่อฟังคำสั่งของควาญช้าง โดยเฉพาะเขาวางน้ำอัดลม แตงโม กระติ๊บข้าว กล้วย ช้างบาง เชือกก็เก็บของเหล่านี้ให้ควาญช้างทั้งหมด แต่ก็มีบางเชือกเก็บเข้าปากตัวเองเพราะของที่เก็บไม่ว่าจะเป็น กล้วยหรือแตงโม ล้วนแต่เป็นของโปรดของช้างทั้งนั้น ซึ่งก็สร้างความครื้นเครงให้กับคนดูพอสมควรใน ความเจ้าเล่ห์ของช้างบางเชือกที่สนุกสนานที่สุดเห็นจะเป็นตอนช้างเตะฟุตบอลซึ่งแบ่งช้างออกเป็น 2 ทีม มีฟุตบอลขนาดใหญ่ เหมาะสมกับตัวของช้างมาเตะกันจริงๆ เกมการแข่งขันจะดูวุ่นวาย เพราะช้างบางตัว ขี้โกงใช้งวงอุ้มลูกฟุตบอล แทนที่จะเตะฟุตบอล สร้างความขบขันให้กับคนดูเป็นอย่างมาก และการแสดง ที่ยิ่งใหญ่ตระการตาก็มาถึง ในฉากที่ชื่อว่า "บารมีปกเกล้า" ฉากนี้แสดงให้เห็นถึงขบวนพยุหยาตราทัพ อันเป็นแสนยานุภาพพระมหากษัตริย์ที่ทรงปกป้องบ้านเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุขในอดีต ซึ่งมีช้างเป็นกำลัง สำคัญในการแสดงแสนยานุภาพนั้น ฉากนี้นับเป็นฉากที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ประกอบด้วยผู้แสดงนับพัน การแต่ง กายก็สมจริง ทำให้เป็นที่ตื่นตาตื่นใจกับนักท่องเที่ยวที่เข้าชมเป็นอย่างยิ่ง
การบวชนาค เป็นอีกฉากหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของช้าง เพราะคหบดีในสมัยก่อนนิยมใช้ช้าง ร่วมแห่นำในขบวนแห่นาค และการแห่นาคที่จังหวัดสุรินทร์จะต่างจากที่อื่นตรงที่นิยมให้มีการรำมวยไทย นำหน้าขบวนแห่นาค และมีวงมโหรีอยู่บนหลังช้าง ปิดขบวนด้วยระนาด ฆ้อง ปี่ และตะโพน เมื่อบวชนาค แล้วต้องมีการฉลองพระใหม่ ก็ได้มีการแสดงชื่อชุดว่า " ฉลองพระ " ซึ่งสมัยก่อนการฉลองพระเป็นการ แข่งขันและเล่นเกมของคน แต่ต่อมาใช้ช้างเล่นแทน ซึ่งก็ให้ความสนุกสนานไม่แพ้คนเล่นเองการแข่งขัน ของช้างมีหลายเกม คือ ช้างวิ่งแข่ง ช้างเตะฟุตบอล ช้างเก็บของ สิ่งเหล่านี้จะแสดงให้เห็นว่า ช้างเชือก ไหนฉลาดและเชื่อฟังคำสั่งของควาญช้าง โดยเฉพาะเขาวางน้ำอัดลม แตงโม กระติ๊บข้าว กล้วย ช้างบาง เชือกก็เก็บของเหล่านี้ให้ควาญช้างทั้งหมด แต่ก็มีบางเชือกเก็บเข้าปากตัวเองเพราะของที่เก็บไม่ว่าจะเป็น กล้วยหรือแตงโม ล้วนแต่เป็นของโปรดของช้างทั้งนั้น ซึ่งก็สร้างความครื้นเครงให้กับคนดูพอสมควรใน ความเจ้าเล่ห์ของช้างบางเชือกที่สนุกสนานที่สุดเห็นจะเป็นตอนช้างเตะฟุตบอลซึ่งแบ่งช้างออกเป็น 2 ทีม มีฟุตบอลขนาดใหญ่ เหมาะสมกับตัวของช้างมาเตะกันจริงๆ เกมการแข่งขันจะดูวุ่นวาย เพราะช้างบางตัว ขี้โกงใช้งวงอุ้มลูกฟุตบอล แทนที่จะเตะฟุตบอล สร้างความขบขันให้กับคนดูเป็นอย่างมาก และการแสดง ที่ยิ่งใหญ่ตระการตาก็มาถึง ในฉากที่ชื่อว่า "บารมีปกเกล้า" ฉากนี้แสดงให้เห็นถึงขบวนพยุหยาตราทัพ อันเป็นแสนยานุภาพพระมหากษัตริย์ที่ทรงปกป้องบ้านเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุขในอดีต ซึ่งมีช้างเป็นกำลัง สำคัญในการแสดงแสนยานุภาพนั้น ฉากนี้นับเป็นฉากที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ประกอบด้วยผู้แสดงนับพัน การแต่ง กายก็สมจริง ทำให้เป็นที่ตื่นตาตื่นใจกับนักท่องเที่ยวที่เข้าชมเป็นอย่างยิ่ง
วันที่ 18 -27 พฤศจิกายน 2551
ณ สนามกีฬาศรีณรงค์ และสนามแสดงช้างสุรินทร์
กิจกรรม
วันที่ 18 -27 พฤศจิกายน 2551
จัดให้มีนิทรรศการ การออกร้านของส่วนราชการ การจำหน่ายสินค้า OTOP การแสดงดนตรี ออกร้าน กาชาด ณ สนามกีฬาศรีณรงค์
วันเสาร์ที่ 22 และอาทิตย์ที่ 23 พ.ย.2551 เวลา 08.30 - 11.30 น. ณ สนามแสดงช้างสุรินทร์ งานแสดง ช้างสุรินทร์
บัตรราคา 800.- บาท รวมอาหารว่างและเครื่องดื่ม มุมมองดีที่สุด
บัตรราคา 500.- บาท มุมมองดี ไม่มีอาหารว่าง/เครื่องดื่ม
บัตรราคา 300.- บาท และ 40 บาท ขายบัตรเท่าจำนวนความจุของที่นั่ง
หมายเหตุ บัตรราคา 800 และ 500 บาท สามารถซื้อล่วงหน้าได้โดยการโอนเงินเข้าบัญชีงานช้างและ กาชาดสุรินทร์ บ/ช เลขที่ 310 0 42667 3 บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาสุรินทร์และดาวโหลดแบบฟอร์ม จาก www.surin.go.th กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน fax.ไปที่ 0 4451 2039 หรือ 0 4452 1361
ส่วนบัตรราคาอื่นๆ ซื้อได้ที่ห้องจำหน่ายบัตรบริเวณทางเข้างานวันต่อวัน
กำหนดการแต่ละวันดูได้จาก
http://www.gov.surinpoc.com/surinnew/elephant_51/index.htm
สอบถามรายละเอียด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุรินทร์ 0 4454 8152
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น