1. งานบุญประเพณีขึ้นพนมสวาย
จังหวัดสุรินทร์ดินแดนแห่งอารยธรรม หลากหลายวัฒนธรรม งานบุญประเพณี “เลิงพนม” หรือที่รู้จักกันทั่วไป "งานบุญประเพณีขึ้นเขาสวาย" เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานเป็นประจำทุกวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ (ปี ๒๕๕๑ ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๖ เมษายน)
นายพูนศักดิ์ ประณุทนรพาล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ นายธงชัย มุ่งเจริญพร นายกอบจ.สุรินทร์ ร่วมกับ นายสุรพล เศวตเศรนี รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และนายประยุทธ์ เขียวหวาน ฯลฯได้ร่วมกันจัดงานบุญประเพณีส่งเสริม “การท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา” ที่พนมสวาย ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวมาร่วม สวดมนต์ ภาวนา ทำศีลสมาธิ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนพนมสวาย เพื่อความเป็นสิริมงคลเสริมพลังชีวิต
ปี ๒๕๕๑ ถือเป็นปีเริ่มต้นที่สำคัญของชาวสุรินทร์ โดยนายพูนศักดิ์ ประณุทนรพาล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ได้เชิญชวนชาวสุรินทร์ร่วมกันบริจาคระฆังในนามของวัดต่างๆทั่วจังหวัดสุรินทร์มากถึง ๑,๐๗๐ วัดจัดสร้างระฆัง ๑,๐๗๐ ใบ และเพื่อเป็นศิริมงคลถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉลองปีมหามงคลเฉลิมพระชนม์ครบ ๘๐ พรรษา คณะผู้จัดสร้างระฆัง ได้กราบขอระฆังจากท่านเจ้าอาวาสวัดสำคัญๆ เช่น วัดบวรนิเวศวิหาร วัดพระเชตุพนฯ วัดระฆังโฆษิตาราม ฯลฯ จนได้ครบ ๑,๐๘๐ ใบ นำมาประดิษฐ์ฐานเรียงรายไว้ที่บันไดทางขึ้นเขาสวาย เพื่อเป็นหนึ่งในกิจกรรมของนักแสวงบุญที่แวะเวียนมา “พนมสวาย” อุทยานธรรมแห่งนี้
สำหรับปีนี้ ได้จัดงานเพิ่มขึ้นอีก ๑ วัน เพื่อเป็นการสมโภชใหญ่ นิมนต์พระเกจิอาจารย์จาก ๑,๐๗๐ วัด ทั่วจังหวัดสุรินทร์ มาสวดมนต์สมโภชระฆัง ในวันเสาร์ที่ ๕ เมษายนตั้งแต่เช้า รวมทั้งจัดพิธีปลุกเสกพระยอดธงที่จัดสร้างขึ้นเพื่อนำรายได้จากการเช่ามาใช้ในการบูรณะอุทยานพนมสวาย
เขตอุทยานพนมสวาย
เขตอุทยานพนมสวาย ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ ต.สวาย อ.เมือง จ.สุรินทร์ พนมสวาย เป็นภูเขาที่โผล่ขึ้นมาโดดๆบนที่ราบทำนาของจังหวัดสุรินทร์ ห่างจากเทือกเขาพนมดองเร็กประมาณ ๕๐ กิโลเมตร ห่างจากเขาพนมรุ้งประมาณ ๕๐ กิโลเมตร และอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๒๒ กิโลเมตร
คำ “พนมสวาย” เป็นภาษาท้องถิ่นเขมร "พนม" แปลว่า"ภูเขา" ส่วน "สวาย" แปลว่า "มะม่วง"
“พนมสวาย” เป็นภูเขาไม่สูงประกอบด้วยเขา ๓ ยอด ได้แก่
ยอดที่ ๑ "พนมกรอล" หรือเขาคอก เป็นที่ตั้งศาลาอัฏฐมุข ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองและเป็นที่ตั้งสถูปเจดีย์ บรรจุอัฐิหลวงปู่ดุล อตุโล และศาลเจ้าแม่กวนอิม ในอดีตบนภูเขานี้จะมีศิลาแลงวางเรียงกันเป็นชั้นๆ เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม สูงประมาณ ๑ เมตร ลักษณะคล้ายคอก จึงเรียกกันว่า "เขาคอก" ปัจจุบันร่องรอยของศิลาแลงดังกล่าวยังคงอยู่
ยอดที่ ๒ เรียกว่า"พนมเปร๊าะ" หมายถึงเขาผู้ชาย สูง ๒๑๐ เมตร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสุรินทรมงคลและปราสาทหินเขาพนมสวาย พร้อมบาราย ๓ ลูก(สระน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นตามแบบขอม มีศิลาแลงตัดเป็นก้อนๆรูปทรงสี่เหลี่ยมเรียงรายตั้งแต่ก้นสระถึงส่วนบนขอบสระเพื่อป้องกันดินพัง โดยทั่วไปตามสถาปัตยกรรมขอม จะมี ๔ บาราย ซึ่งเปรียบได้กับมหาสมุทรทั้ง๔ ) และเจดีย์ศิลาแลงโบราณ จำนวน ๑ องค์
ยอดที่ ๓ เรียกว่า "พนมสรัย" หมายถึงเขาผู้หญิงสูง ๒๒๘ เมตร เป็นที่ตั้งวัดพนมศิลาราม มีตำนานเรื่องเล่าในอดีตสืบทอดกันมาเชื่อว่ามีถ้ำมหาสมบัติ สระน้ำโบราณ และเป็นที่อยู่ของเต่าศักดิ์สิทธิ์ ๒ ตัว ซึ่งต่อมาอพยพหนีภัยลงจากเขา แต่ไปได้ถึงเพียงไหล่เขาก็ต้องกลายเป็นหิน เชื่อว่าหากใครลบหลู่หรือปีนป่ายบนเต่าหินศักดิ์สิทธิ์นี้จะเกิดภัยพิบัติแก่ตนเองและครอบครัว
2. วัฒนธรรมประเพณี”เลิงพนม” (ขึ้นเขาสวาย)
”เลิงพนม” ประเพณีความเชื่อที่สืบทอดมาแต่บรรพบุรษของชาวเขมรสุรินทร์ พวกเขามีศรัทธาต่อประเพณีนี้อย่างแรงกล้า เมื่อถึงกำหนดทุกวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติของขอมคนเขมรสุรินทร์ ทุกคนจะหยุดงานทุกอย่างเป็นเวลา ๗ วัน เพื่อการแสวงบุญขึ้น“พนมสวาย” ไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง ครอบครัวและบ้านเมือง คนหนุ่มสาวก็จะมีโอกาสได้พบปะสนุกสนานรู้จักกัน หลายรายที่พัฒนาเป็นความรักถึงขั้นแต่งงานครองรักครองเรือนไป และยังเชื่อกันว่าหากใครไม่หยุดงาน จะถึงกับมีอันเป็นไป เช่นถูกฟ้าผ่าตายฯลฯ
นมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเสริมศิริมงคลแก่ชีวิต ได้แก่ พระพุทธสุรินทรมงคล(เป็นปางประทานพร ภปร.) รอยพระพุทธบาทจำลอง พระพถทธรูปบนเขาหญิง พระพุทธรูปองค์ดำ อัฐิหลวงปู่ดูลย์ อตุโล หลวงปู่สาม ปราสาทหินพนมสวาย ศาลเจ้าแม่กวนอิม เต่าหินศักดิ์สิทธิ์ สระน้ำศักดิ์สิทธิ์
เรื่องเล่าตำนาน
ตำนานเรื่องเล่า เกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนเขาสวายมีมากมาย เช่นตำนานเกี่ยวกับ “ก้อนหินใหญ่เคลื่อนที่ได้” ก้อนหินลอยน้ำได้ บ่อเงิน บ่อขมิ้น เดิมที่นี่จะมีขันน้ำ เงิน และขันทอง วางไว้สำหรับสำหรับผู้แวะเวียนผ่านมาได้ใช้ตักน้ำมาดื่มกิน ตามตำนานยังบอกเล่าถึงบ่อน้ำแห่งนี้ว่า ขณะที่ควานช้างนำช้างผ่านมาบนเขา ท่ามกลางฤดูกาลที่แห้งแล้งมาก หาน้ำดื่มกินไม่ได้ ช้างได้อาศัยววงของมันเสาะหาน้ำ เมื่อมาถึงที่แห่งหนึ่งบนเขา ช้างได้หยุดแล้วใช้เท้าเขี่ยก้อนหินนั้นออกไป ปรากฏว่าใต้แผ่นหินนั้นได้ว่ามีบ่อเล็กๆกว้างประมาณ ๖ นิ้ว มีความลึกสุดประมาณ ที่น่าแปลกแม้ในปัจจุบันบ่อน้ำแห่งนี้ก็ยังไม่พบว่าระดับน้ำได้ลดลงแต่อย่างไร ตำนานเกี่ยวกับ”พนมสวาย”ยังมีอีกมากมาย
www.visitsurin.comจะติดตามนำมาเสนอต่อไป
การเดินทาง
เริ่มต้นจากศาลากลางจังหวัดประมาณ ๒๒ กม. ถนนลาดยางสายสุรินทร์-ปราสาท (ทางหลวงหมายเลข ๒๑๔) ระยะทาง ๑๔ กม. และมีทางแยกขวาเข้าไปอีก ๖ กม. อยู่ในท้องที่ ต.นาบัว อ.เมือง จังหวัดสุรินทร์
อีกเส้นทางหนึ่ง ออกจากตัวเมืองสุรินทร์ไปทางถนนเส้น สุรินทร์-บุรีรัมย์ ประมาณ ๕ กิโลเมตร(บ้านตะเคียน) เลี้ยวซ้าย ผ่านบ้านตะแสง ทะนง เข้าบ้านสวาย ตำบลสวาย ถึงเขาสวาย ระยะทางประมาณ ๒๕กิโลเมตร (มีป้ายบอกทางตลาดเส้นทาง-ถนนลาดยาง)
นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ โทรศัพท์ 0-4451-1975
ททท.สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต ๑ โทร.0-4421-3666, 0-4421-3030
ทุกวันในเวลาราชการ
3. ประเพณีบวชนาคช้าง ชาวกวย
|
| จังหวัดสุรินทร์ เป็นเมืองที่ได้รับขนานนามว่า "เมืองช้าง" มานานกว่า ๓ ทศวรรษแล้ว เนื่องจากการที่ได้ริเริ่มจัดการแสดงของช้างขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๐๓ และก็ได้จัดสืบทอดเป็นประเพณีมาจนกระทั่งทุกวันนี้ |
ในแต่ละปีนั้น ก็จะมีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้ความสนใจเข้ามาชมกันเป็นจำนวนมาก ทำให้เศรษฐกิจของสุรินทร์เติบโตอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของภาคอีสานอีกเมืองหนึ่ง
นอกจากการแสดงของช้างที่ลือลั่นไปทั่วโลกแล้ว สุรินทร์ยังเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย เนื่องจากเป็นเมืองที่มีกลุ่มชาติพันธุ์อยู่รวมกันถึง ๓ กลุ่มด้วยกันคือ กวย (กูย) หรือส่วย เขมร และลาว ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีขนบประเพณีที่แตกต่างกันออกไป และก็เป็นที่น่าสนใจและน่าอนุรักษ์ไว้สำหรับอนุชนรุ่นหลัง
สตรีชาวกูย (อำเภอศีขรภูมิ) |
สตรีและเด็กชาวเขมร (อำเภอศีขรภูมิ) |
สตรีชาวลาว (อำเภอศีขรภูมิ)
|
ประเพณีงานบวชประจำปีที่หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูมจังหวัดสุรินทร์ ก็เป็นอีกประเพณีหนึ่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้อย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่สำหรับจังหวัดสุรินทร์หรือประเทศไทยเท่านั้น แต่สมควรที่จะอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลกเลยก็ว่าได้
|
| หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง เป็นหมู่บ้านของชาวกูยที่เลี้ยงช้าง ซึ่งช้างจากหมู่บ้านช้างแห่งนี้นี่แหละที่ไปแสดงงานช้างของจังหวัดเป็นประจำทุกปี
|
ชาวกูยบ้านแห่งตากลางดำเนินวิถีชีวิตด้วยการเลี้ยงช้างตามรอยบรรพบุรุษมานานนับศตวรรษ และที่แห่งนี้ก็เป็นทำเลที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงช้างที่สุด กล่าวคือ อยู่บริเวณที่ราบลุ่มที่มีแม่น้ำมูลและแม่น้ำชีไหลมาบรรจบกัน กอปรกับยังมีสภาพป่าหลังเหลืออยู่บ้าง ซึ่งนับวันก็ถูกทำลายลงทุกที อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ต้องนำช้างออกไปเร่ร่อนตามเมืองใหญ่ๆ
|
ทิวทัศน์ยามเย็นท้ายหมู่บ้านตากลาง |
อาหารที่เริ่มหร่อยหรอลงทุกวัน |
|
ช่วงวันขึ้น ๑๓-๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา ชาวหมู่บ้านตากลางและหมู่บ้านใกล้เคียงที่มีบุตรชายอายุครบบวช ต่างพร้อมใจกันกันจัดงานบวชขึ้น โดยแต่ละบ้านที่จัดงานบวชก็จะมีการบายศรีสู่ขวัญนาค และจัดงานเลี้ยงคล้ายๆ กับงานบวชโดยทั่วๆ ไป... |
งานช้างจังหวัดสุรินทร์
ประวัติ / ความเป็นมา
ในสมัยโบราณในแถบพื้นที่ของจังหวัดสุรินทร์ มีช้างอาศัยอยู่มากมาย ขณะเดียวกันจังหวัดสุรินทร์ก็มีชาว พื้นเมืองที่มีความชำนาญในการจับช้างป่ามาฝึกหัดทำงาน เรียกว่า พวก "ส่วย" ชาวส่วยเป็นชาวพื้นเมืองที่ กล่าวกันว่า เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่ได้อพยพมาจากเมืองอัตขันแสนแป ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ ใกล้กับเมืองจำปาศักดิ์ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบันชาวพื้นเมืองเหล่านี้เป็น เผ่าที่ชอบเลี้ยงช้าง เป็นผู้ริเริ่มในการจับช้างป่ามาฝึกเพื่อใช้งานและเป็นพาหนะเดินทางขนส่งในท้องถิ่น การไปจับช้างในป่าลึกโดยใช้ช้างต่อ เรียกว่า "โพนช้าง" ที่หมู่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ชาวส่วยได้เข้าไปอยู่บนเนิน เขตรอยต่อระหว่างดงสายทอและดงรูดินใกล้ๆ กับบริเวณที่ลำ น้ำชี้ (ชีน้อย) เป็นลำน้ำที่แบ่งเขตระหว่างจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดบุรีรัมย์และลำน้ำมูลไหลมาบรรจบกัน โดยสภาพพื้นที่ดังกล่าวในอดีตได้ตัดขาดจากโลกภายนอกเกือบสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้การผสมกลมกลืนกับ วัฒนธรรมอื่นจึงมีน้อย ชาวส่วยเกือบทั้งหมดในเขตพื้นที่นี้ ยังมีการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถี ชีวิตแบบดั้งเดิมของตนเองอยู่ โดยเฉพาะการเลี้ยงช้างเป็นอาชีพหลักที่สำคัญที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ในสมัยโบราณ ซึ่งไม่อาจสืบค้นได้ว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด โดยชาวส่วยเหล่านี้จะพากันออกไปจับช้างในเขต ประเทศกัมพูชามาฝึกให้สามารถใช้งานได้แล้วขายให้ กับพ่อค้าจากภาคเหนือของประเทศไทยเพื่อนำไป ลากไม้ในป่า จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.2502 ได้เกิดพิพาทระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา การเดินทางไปจับ ช้างจึงยุติลง และในที่สุดก็ได้ยุติลงอย่างสิ้นเชิงในราวปี พ.ศ.2506 ในขณะเดียวกันชาวบ้านบางส่วนได้ หันมาฝึกช้างจากการเป็นสัตว์ใช้งานมาเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านเช่นเดียวกับ แมวและสุนัข ฝึกสอนให้แสดง กิริยาต่างๆ เลียนแบบคน เพื่อจะ้นำไปแสดงในที่ต่างๆ แทนการขายไปทั้งตัวจนกระทั่งทางจังหวัดสุรินทร์ และองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ชื่อในขณะนั้น) ได้มองเห็นความสำคัญที่จะส่งเสริม การแสดงของช้างเป็นงานประจำปี ของจังหวัดสุรินทร์และประเทศไทยขึ้น โดยจัดเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา แต่ก่อนที่จะมีงานช้างซึ่งถือเป็นงานประจำปีของจังหวัดสุรินทร์ซึ่งได้จัดติดต่อกัน มาเกือบ 40 กว่าปีล่วงมาแล้ว นายท้าว ศาลางาม หมอช้างระดับครู ขาใหญ่แห่งหมู่บ้านกระเบื้องใหญ่ อำเภอ ชุมพลบุรี ได้เล่าถึงความเป็นมาของงานช้างว่า..
ปี พ.ศ.2498 นั้นมีข่าวลือว่าจะมีเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์มาลงที่หมู่บ้านตากลางหรือหมู่บ้านช้างในปัจจุบัน ด้วยเหตุที่ชาวบ้านนานๆ จะได้เห็นยวดยานพาหนะประเภทรถยนต์ และเครื่องบินผ่านไปในเขตพื้นที่อัน เป็นที่อยู่อาศัยของตน จึงแตกตื่นไปทั่วตำบล มีการชักชวนกันไปดูเครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์และเนื่องจาก ชาวบ้านในตำบลกระโพ เกือบทุกหมู่บ้านมีอาชีพสำคัญคือการเลี้ยงและออกจับช้างป่ามาฝึกขาย จึงมีช้าง เกือบทุกครัวเรือน โดยเป็นทั้งพาหนะและสินทรัพย์ที่สำคัญของชาวบ้านแถบนั้นการเดินทางไปดูเฮลิคอป เตอร์ในครั้งนั้นจึงใช้ช้างเป็นพาหนะ เมื่อไปถึงลานจอดเฮลิคอปเตอร์แล้วปรากฏว่ามีช้างจำนวนมากมาย รวมกันแล้วนับได้ประมาณ 300 เชือก สร้างความตื่นเต้นประทับใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็นเป็นอย่างมาก กระทั่ง ในปี พ.ศ.2503 นายวินัย สุวรรณกาศ นายอำเภอท่าตูม สมัยนั้นได้ให้นำช้างเหล่านี้มารวมตัวกันอีกครั้ง หนึ่งเพื่อร่วมแสดงในงานฉลองที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ ณ บริเวณสนามบินเก่าท่าตูม คือ บริเวณโรงเรียน ท่าตูมประชาเสริมวิทย์ในปัจจุบัน การแสดงนั้นได้จัดขึ้นในวันที่ 19 พ.ย. 2503 มีการเดินขบวนพาเหรด ของช้าง การแสดงการคล้องช้าง การแข่งขันช้างวิ่งเร็วมีช้างเข้าร่วมในการแสดงประมาณ 60 เชือก จาก การแสดงทำให้มีการประชาสัมพันธ์แพร่ภาพทั้งทางโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วทำให้เกิด ความสนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทางองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ชื่อเดิมของ ททท.) จึงเสนอต่อกระทรวงมหาดไทย ว่าการแสดงของช้างที่จังหวัดสุรินทร์ในครั้งนั้นนับว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่มากของจังหวัดและประชาชนทั่วไป ก็ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก แต่มีโอกาสหาชมได้น้อย จึงเห็นสมควรที่จะเผยแพร่งานแสดงของช้างไป สู่วงกว้าง โดยเสนอให้งานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของงานประเพณีของจังหวัดและให้มีการจัดขึ้นเป็นประจำ ทุกปี โดยการกำหนดวันให้แน่นอนตามปฏิทินทางสุริยคติและจัดรูปแบบงานให้มีความรัดกุมมากขึ้นเพื่อ จะได้มีเวลาในการโฆษณาเชิญชวนไปยังต่างประเทศ อันเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวของ ประเทศให้แพร่หลายไปด้วย
ดังนั้น วันที่ 18 พ.ย. 2504 จังหวัดสุรินทร์จึงได้ร่วมกับองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัด งานแสดงของช้างขึ้นเป็นงานประจำปีของจังหวัดสุรินทร์อีกครั้งหนึ่งโดยยังคงจัดที่อำเภอท่าตูม ซึ่งอยู่ห่าง จากจังหวัดสุรินทร์ไปทางทิศเหนือ ประมาณ 52 กิโลเมตร จากผลการจัดงานแสดงของช้างดังกล่าวได้รับ ความสนใจจากชาวต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ทางองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจึงได้ รายงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ให้พิจารณางานเสดงของช้างเป็นงานประจำปีของชาติ และคณะรัฐมนตรี ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2505 เป็นต้นมา งานแสดงของช้างจังหวัดสุรินทร์กลายเป็นงาน ประจำปีของชาติ และเป็นงานประเพณีที่มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาจังหวัดสุรินทร์จนกระทั่งปัจจุบัน
กำหนดงาน
กำหนดให้มีขึ้นในวันเสาร์ – อาทิตย์ สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี สามารถตรวจสอบราย ละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival
กิจกรรม / พิธี
การแสดงของช้างมีด้วยกันทั้งหมด 8 ฉาก อาทิเช่น ชุดโขลงช้าง พิธีเซ่นผีปะกำ การโพนช้าง และการฝึก ช้างป่า ช้างทำงาน และการเล่นของช้าง ประเพณีวัฒนธรรมของส่วยหรือชนชาวกุย ขบวนช้างแห่นาค ช้าง แข่งขันกีฬา ช้างเตะตะกร้อ ช้างชกมวย การประกวดช้างสวยงามและการแสดงของช้างอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากการแสดงของช้างแล้วยังมีการจัดนิทรรศการ การประกวดผลผลิตทางการเกษตร การประกวด ของดีเมืองสุรินทร์ การออกสลากกาชาด การออกร้านงานช้างแฟร์ ทำให้ผู้ร่วมงานครั้งนี้สนุกสนานกัน ถ้วนหน้า
การแสดงของช้างเริ่มด้วยฉากแรกชื่อว่า "จ่าโขลง" แสดงให้เห็นถึงชีวิตของช้างป่าตามธรรมชาติซึ่งอยู่ รวมกัน การแสดงครั้งนี้ก็จะปล่อยช้างออกมาบริเวณสนามแสดงช้างหลายสิบเชือก โดยไม่มีควาญช้าง บังคับ เพื่อให้สมจริงสมจังกับการเป็นช้างป่า เมื่อมีช้างป่าชาวบ้านก็มีความต้องการที่จะจับช้างมาเลี้ยงไว้ ใช้งาน แต่การจับช้างของชาวบ้านไม่ใช่อยู่ๆ ก็จับมาเลย ต้องมีการทำพิธีกันเสียก่อน ฉากต่อมาจึงมีชื่อ ชุดว่า "กวย" ฉากนี้แสดงให้เห็นว่าชาวบ้านต้องทำพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ผีปะกำ ก่อนออกไปคล้องช้างตาม ความเชื่อที่ว่า ช้างแต่ละเชือกมีผีปะกำดูแลอยู่ ดังนั้นหน้าบ้านของคนเลี้ยงช้างทุกบ้านจะมีศาลปะกำเพื่อ ไว้เป็นที่เก็บเชือกกำปะกำและเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเซ่นไหว้ โดยแสดงให้เห็นถึง การประกอบพิธีอย่างโบราณ ด้วยการให้หมอเฒ่า หรือปะกำหลวงมาแสดงให้ผู้ชมมีความรู้สึกร่วมไปด้วย แต่น่าเสียดายที่ผู้ชมกับผู้แสดงอยู่ห่างกันมาก ทำให้ไม่เห็นรายละเอียดบางอย่างอย่างใกล้ชิด เช่น การ สวด สีหน้า ท่าทางของผู้ประกอบพิธี
เมื่อเสร็จพิธี ชาวบ้านก็จะไปคล้องช้างกันการเข้าไปคล้องช้างในป่าจะกินเวลานานถึง 2-3 เดือน ฉะนั้นผู้ที่ คล้องช้างจึงต้องเป็นผู้ชายและผู้ที่คล้องช้างได้ก็จะเป็นที่ยอมรับนับถือในความเป็นชายเป็นเกียรติแก่วงศ์ ตระกูล เป็นที่หมายปองแก่บรรดาสาวๆ และที่สำคัญช้างเชือกหนึ่งมีราคาไม่ใช่น้อย ดังนั้น การคล้องช้า้ง ถือเป็นการยกฐานะของคนที่คล้องช้างได้ไปในตัวด้วยฉากต่อมาชื่อชุดว่า "จากป่าสู่บ้าน" เป็นการแสดง ให้เห็นถึงวิธีการคล้องช้าง ผู้ชำนาญจะคล้องช้างที่เป็นแม่ลูกอ่อน เพราะถ้าหากคล้องลูกช้างได้ก็เหมือน กับได้ตัวแม่ด้วย ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าแม่ช้างจะห่วงลูกน้อยทำให้ไม่ยอมไปไหน การแสดงฉากนี้คนก็ลุ้น อยากให้คนคล้องช้างได้หลายคนก็ลุ้นให้ช้างหลุดรอดไปได้ ซึ่งคนดูจะตื่นเต้นสนุกสนาน การแสดงฉาก นี้ดูเหมือนว่าจะคล้องช้างไม่ได้เสียมากกว่า เพราะช้างที่แสดงเป็นช้างบ้านที่ฉลาด ได้รับการฝึกฝนมาแล้ว จึงรู้วิธีหลบหลีกเป็นอย่างดี คนที่ลุ้นให้ช้างรอดก็โล่งใจกันเป็นแถว " สร้างบ้าน แปงเมือง " เป็นการแสดง ในฉากต่อมาโดยนำช้างออกมาแสดงความสามารถทั้งการใช้งาน เช่น การลากซุง การแสดงตามคำสั่ง ต่างๆ ซึ่งก็น่ารัก น่าเอ็นดู เพราะช้างตัวใหญ่อุ้ยอ้ายการที่จะต้องมาแสดงท่าทางเลียนแบบคน ไม่ใช่เรื่อง ง่ายเลย ไม่ว่าจะเป็นลูกช้างไต่ราว การให้ช้างนั่งบนถังในท่านั่งเหมือนคนหรือเดินสองขาเหมือนคน
ในขณะที่การแสดงของช้างดำเนินอยู่ ก็จะมีเด็กๆ ทั้งผู้หญิงผู้ชายแต่งกายชุดพื้นบ้านมาแสดงการละเล่น ของเด็กในสมัยก่อนที่มักจะหาของเล่นจากวัสดุ ในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเดินกะลา ล้อไม้ ม้าก้านกล้วย เดินโทงเทง ซึ่งหาดูได้ยากในปัจจุบัน แต่ที่น่าชมและชอบใจของคนดูทั้งสนามก็คงเป็นช้างชกมวย ไม่ใช่ ช้างชกกับช้าง แต่เป็นช้างกับคน โดยเขาจะใส่นวมที่งวงช้างเพื่อให้ชกแทนการใช้มืออย่างคน การชกเป็น ไปอย่างดุเดือดเพราะแต่ละหมัด(งวง) ของช้างหนักหน่วงจนทำให้คนต้องลงไปนอนให้กรรมการนับหลาย ครั้งและก็ปรากฏว่าช้างชนะน็อคไปตามระเบียบ ดัวยหมัดฮุคอย่างรุนแรง เป็นที่สนุกสนานเฮฮาของคนดู
หลังจากการแสดงอันแสนรู้ของช้างผ่านไปแล้ว ก็เป็นการแสดงคนในชื่อชุดว่า "ประเพณี" เป็นการแสดง ให้เห็นถึงวัฒนธรรมประเพณีของชาวสุรินทร์ คือ การแสดงเรืออันเร และการแห่บั้งไฟ การแสดงเรืออันเร ประกอบด้วยดนตรีพื้นบ้าน คือ กันตรึม การรำคล้ายกับการรำลาวกระทบไม้
การแห่บั้งไฟ เป็นประเพณีของชาวอีสานที่แห่บูชาพญาแถนเพื่อขอฝน ขบวนแห่ในวันนั้นมีการจัดไว้อย่าง สวยงาม มีผู้ร่วมขบวนนับร้อย ทุกคนล้วนแต่งกายสีสันสดใสด้วยผ้าพื้นเมือง ฝีมือการทอของชาวบ้านเอง
การบวชนาค เป็นอีกฉากหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของช้าง เพราะคหบดีในสมัยก่อนนิยมใช้ช้าง ร่วมแห่นำในขบวนแห่นาค และการแห่นาคที่จังหวัดสุรินทร์จะต่างจากที่อื่นตรงที่นิยมให้มีการรำมวยไทย นำหน้าขบวนแห่นาค และมีวงมโหรีอยู่บนหลังช้าง ปิดขบวนด้วยระนาด ฆ้อง ปี่ และตะโพน เมื่อบวชนาค แล้วต้องมีการฉลองพระใหม่ ก็ได้มีการแสดงชื่อชุดว่า " ฉลองพระ " ซึ่งสมัยก่อนการฉลองพระเป็นการ แข่งขันและเล่นเกมของคน แต่ต่อมาใช้ช้างเล่นแทน ซึ่งก็ให้ความสนุกสนานไม่แพ้คนเล่นเองการแข่งขัน ของช้างมีหลายเกม คือ ช้างวิ่งแข่ง ช้างเตะฟุตบอล ช้างเก็บของ สิ่งเหล่านี้จะแสดงให้เห็นว่า ช้างเชือก ไหนฉลาดและเชื่อฟังคำสั่งของควาญช้าง โดยเฉพาะเขาวางน้ำอัดลม แตงโม กระติ๊บข้าว กล้วย ช้างบาง เชือกก็เก็บของเหล่านี้ให้ควาญช้างทั้งหมด แต่ก็มีบางเชือกเก็บเข้าปากตัวเองเพราะของที่เก็บไม่ว่าจะเป็น กล้วยหรือแตงโม ล้วนแต่เป็นของโปรดของช้างทั้งนั้น ซึ่งก็สร้างความครื้นเครงให้กับคนดูพอสมควรใน ความเจ้าเล่ห์ของช้างบางเชือกที่สนุกสนานที่สุดเห็นจะเป็นตอนช้างเตะฟุตบอลซึ่งแบ่งช้างออกเป็น 2 ทีม มีฟุตบอลขนาดใหญ่ เหมาะสมกับตัวของช้างมาเตะกันจริงๆ เกมการแข่งขันจะดูวุ่นวาย เพราะช้างบางตัว ขี้โกงใช้งวงอุ้มลูกฟุตบอล แทนที่จะเตะฟุตบอล สร้างความขบขันให้กับคนดูเป็นอย่างมาก และการแสดง ที่ยิ่งใหญ่ตระการตาก็มาถึง ในฉากที่ชื่อว่า "บารมีปกเกล้า" ฉากนี้แสดงให้เห็นถึงขบวนพยุหยาตราทัพ อันเป็นแสนยานุภาพพระมหากษัตริย์ที่ทรงปกป้องบ้านเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุขในอดีต ซึ่งมีช้างเป็นกำลัง สำคัญในการแสดงแสนยานุภาพนั้น ฉากนี้นับเป็นฉากที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ประกอบด้วยผู้แสดงนับพัน การแต่ง กายก็สมจริง ทำให้เป็นที่ตื่นตาตื่นใจกับนักท่องเที่ยวที่เข้าชมเป็นอย่างยิ่ง
งานช้างและกาชาดสุรินทร์ ประจำปี 2551 ครั้งที่ 48
วันที่ 18 -27 พฤศจิกายน 2551
ณ สนามกีฬาศรีณรงค์ และสนามแสดงช้างสุรินทร์
กิจกรรม
วันที่ 18 -27 พฤศจิกายน 2551
จัดให้มีนิทรรศการ การออกร้านของส่วนราชการ การจำหน่ายสินค้า OTOP การแสดงดนตรี ออกร้าน กาชาด ณ สนามกีฬาศรีณรงค์
วันเสาร์ที่ 22 และอาทิตย์ที่ 23 พ.ย.2551 เวลา 08.30 - 11.30 น. ณ สนามแสดงช้างสุรินทร์ งานแสดง ช้างสุรินทร์
บัตรราคา 800.- บาท รวมอาหารว่างและเครื่องดื่ม มุมมองดีที่สุด
บัตรราคา 500.- บาท มุมมองดี ไม่มีอาหารว่าง/เครื่องดื่ม
บัตรราคา 300.- บาท และ 40 บาท ขายบัตรเท่าจำนวนความจุของที่นั่ง
หมายเหตุ บัตรราคา 800 และ 500 บาท สามารถซื้อล่วงหน้าได้โดยการโอนเงินเข้าบัญชีงานช้างและ กาชาดสุรินทร์ บ/ช เลขที่ 310 0 42667 3 บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาสุรินทร์และดาวโหลดแบบฟอร์ม จาก www.surin.go.th กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน fax.ไปที่ 0 4451 2039 หรือ 0 4452 1361
ส่วนบัตรราคาอื่นๆ ซื้อได้ที่ห้องจำหน่ายบัตรบริเวณทางเข้างานวันต่อวัน
กำหนดการแต่ละวันดูได้จาก
http://www.gov.surinpoc.com/surinnew/elephant_51/index.htm
สอบถามรายละเอียด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุรินทร์ 0 4454 8152